25 นวัตกรรม ที่เปลี่ยนแปลงโลก CNN ได้ประกาศ และจัดอันดับ 25 นวัตกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก
วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
25นวัตกรรม
วิกิพีเดีย
นวัตกรรม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
คำว่า นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจนวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร
[แก้] นวัตกรรมในองค์กร
ในบริบทขององค์กร เราอาจเชื่อมโยงนวัตกรรมเข้ากับสมรรถนะ และ การเติบโต ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพ ความสามารถในการผลิต คุณภาพ จุดยืนด้วยความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งการตลาด ฯลฯ องค์กรทุกองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้ อาทิเช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และรัฐบาลท้องถิ่น[แก้] นวัตกรรม
มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย ในยุคแรกๆ จะพูดถึงอะไรที่เป็นสิ่งใหม่ๆ เท่านั้น ต่อมา โรเจอร์ ได้เริ่มกล่าวถึง การแพร่กระจายของนวัตกรรมด้วย Diffusion of Innovation อย่างไรก็ดี คำจำกัดความที่ดูเหมือนจะครอบคลุมที่สุด คือ Invention + Commercialization หรือ ต้องมีการนำสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าใหม่ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ทั้งทางธุรกิจ หรือ ทางสังคม ทั้งนี้รูปแบบของนวัตกรรม ก็สามารถแบ่งออกเป็นได้ตามรูปแบบ (Product, Service, Process) หรือ อาจแบ่งตามระดับความใหม่ก็ได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ Incremental, Modular, Architectural และ Radical Innovation Teerapon.T (2008) กล่าวถึง Innovation หรือ นวัตกรรมว่า อาจหมายถึง สิ่งประดิษฐ์ หรือ สิ่งใหม่ ที่ต้องสร้างให้เกิด Value Creation คือ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั่นเองอ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
นวัตกรรมภาษาอังกฤษ
สื่อนวัตกรรมภาษาอังกฤษ
จากความเพียรพยายามพัฒนานวัตกรรม จาก mp3 ก็เลยกลายเป็นแผ่น DVD และไฟล์ให้ดาว์นโหลดได้ฟรี จากเวปไซต์ http://www.steves-english-zone.com/ ในเวปไซต์นี้ท่านจะได้ไฟล์ที่อยู่ในรูปวีดีโอ (WMV) , mp3 (ไฟล์เสียงเท่านั้น) และตัวเนื้อหา (doc.) ก็อยากจะประชาสัมพันธ์ให้ครูที่ยังขาดสื่อภาษาอังกฤษ หรืออยากจะทดลองนำไปใช้กับเด็กของตน สามารถดาว์นโหลดฟรี นำไปใช้ได้เลยนะครับ จากเวปไซต์ที่ระบุดังกล่าว
วิธีการดาว์โหลดสื่อภาษาอังกฤษบทสนทนาที่ อ.Steve ได้จัดทำขึ้นมา ก็ไม่ยากครับ
1. เข้าเวปไซต์ดังกล่าว http://www.steves-english-zone.com/
2. คลิ๊กที่แท็บทางด้านซ้าย คำว่า Bantatprachanukoon
3. เลื่อนสกอร์บาร์ลงมา เจอคำว่า Prathom 1 ก็ให้คลิ๊กอีก 1 ครั้ง ท่านก็จะเจออีกหน้า
4. ในหน้าดังกล่าว จะมีที่ให้คลิ๊กจำนวน 29 ที่ คลิ๊กดาว์โหลด 1 ครั้งจะได้ไฟล์ 3 ไฟล์ โดยจะอยู่ในรูปของ zip ก่อนและให้แตกไฟล์ โดยคลิ๊กขวา Extract to …. ไปที่ไฟล์ดังกล่าว ก็จะได้ folder ของไฟล์นั้น ดับเบิ้ลคลิ๊กเข้าไปอีก ก็จะเจอไฟล์ 3 ไฟล์ของแต่ละหน้า (page)
(ส่วนของป.2 ก็คลิ๊กที่ Prathom 2 และของ ป.3 คลิ๊กที่ Prathom 3 ซึ่ง ป.2 และ ป.3 จะมีอย่างละ 30 ไฟล์)
น้ำขึ้นให้รีบตักนะครับ ไฟล์หมดอายุก่อนจะโหลดไม่ได้
อ้างอิง http://www.sornor.org/?p=1017
ความหมายนวัตกรรม
ความหมายของ นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
November 25th, 2008 | Author: admin
ความหมายของนวัตกรรม
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
i ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
อ้างอิง http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
i ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
อ้างอิง http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138
นวัตกรรมไอที
บุกงาน"CES 2010" นวัตกรรม"ไอที"รับปีใหม่
มหกรรมงานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ "CES 2010" ในนครลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา เพิ่งปิดฉากผ่านพ้นไปสดๆ ร้อนๆ เมื่อ 2 วันก่อน
ตามธรรมเนียมของทุกปีภายในงานนี้บรรดาบริษัทไอทีชั้นนำจะขนต้นแบบ รวมถึงนวัตกรรมไฮเทคใหม่ล่าสุดมาอวดศักยภาพให้ชาวโลกได้ยลโฉมก่อนใครเพื่อน ซึ่งเทคโนโลยีเด่นในมหกรรม CES ประจำปี ค.ศ.2010 หรือพ.ศ.2553 ที่โดดเด่นเตะตาผู้เข้าชมและผู้สื่อข่าวสายไอทีมากที่สุด มีดังนี้!
1.สเลต พีซี (Slate PC) โน้ตบุ๊กขนาดพกพา สั่งงานผ่านจอทัชสกรีน รุ่น "สเลต พีซี" ของ บริษัทเอชพี ซึ่งทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 ของบริษัทไมโครซอฟท์ เป็นทั้งโน้ตบุ๊ก เครื่องมือท่องอินเตอร์เน็ต และเครื่องอ่านหนังสือดิจิตอล (อีบุ๊ก) นายสตีฟ บัลเมอร์ ผู้บริหารไมโครซอฟท์ เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของเครื่องรุ่นนี้มากถึงขนาดลงทุนเปิดแถลงข่าวและสาธิตวิธีใช้งานด้วยตัวเองในงาน CES
2.หนังสือดิจิตอล บริษัทซัมซุงเผย โฉมเครื่องอ่านหนังสือดิจิตอล (อีบุ๊ก) รุ่น "อี 6" (E6) ขนาดกระชับมือ
3.ดูหนัง 3 มิติ เครื่องเล่นแผ่น "บลูเรย์" แบบ 3 มิติของ ค่ายพานาโซนิก วางคู่กับแว่นชมภาพยนตร์ 3 มิติ รุ่น "แอ๊กทีฟ ชัตเตอร์ 3ดี" (Active Shutter 3D)
4.ทีวีบางเฉียบ โทรทัศน์จอภาพบางเฉียบ รุ่น "แอลอีดี 900" (LED 900) พัฒนาโดย บริษัทซัมซุง ตัวเครื่องและจอหนาไม่ถึง 3 นิ้ว หรือหนาพอๆ กับแท่งดินสอเท่านั้น และมีระบบแสดงผลเปลี่ยนภาพ 2 มิติ ให้กลายเป็น 3 มิติ
5.ถ่ายใต้น้ำ ชุดกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพใต้น้ำของ บริษัทลิควิด อิมเมจ เหนือชั้นกว่ากล้องใต้น้ำอื่นๆ ตรงที่สวมติดกับศีรษะได้อย่างมั่นคงและบันทึกภาพด้วยค่าความละเอียดสูง (HD)
6.จักรยานไฟฟ้า บริษัท ซันโย ทวีปอเมริกาเหนือ เปิดตัวจักรยาน รุ่น "เอเนลลูป" (Eneloop) คนขี่ไม่ต้องออกแรงถีบเพราะเคลื่อนที่ได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ถ้าไฟหมดก็สามารถเปลี่ยนกลับมาถีบตามปกติ เพื่อประจุไฟฟ้าใหม่ ซันโยขนานนามผลิตภัณฑ์นี้ว่า "จักรยานลูกผสม" หรือ "ซินเนอร์เจติก ไฮบริด ไบซิเคิล"
7.เครื่องชาร์จสารพัดประโยชน์ เครื่องชาร์จไฟฟ้าพกพา รุ่น "ออล อิน วัน" ของ บริษัท เอเนอร์ไจเซอร์ ไว้ใช้สำหรับจัมพ์ หรือพ่วงสายแบตเตอรี่รถยนต์เวลาไฟหมด และยังใช้เป็นเครื่องสูบลมยาง รวมถึงประจุไฟให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ
8."จอ" งอได้ เครื่องอ่านหนังสือดิจิตอล รุ่น "สคิฟฟ์ รีดเดอร์" (Skiff Reader) ออกแบบโดย บริษัทแอลจี ดิสเพลย์ จอขาวดำดัดโค้งงอพับเก็บได้ใกล้เคียงกับสิ่งพิมพ์กระดาษทั่วๆ ไป แสดงภาพด้วยค่าความละเอียด 1,200x1,600 พิกเซล
9."เน็ต" ทีวี ลักษณะหน้าตาโปรแกรม "คอนเน็กต์ ทีวี" (Connected TV) พัฒนาโดย บริษัทยาฮู! เจ้าของเว็บไซต์สืบค้นข้อมูลอันดับ 2 ของโลก ช่วยเชื่อมต่อโทรทัศน์เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายดาย
10."พีซี" ถอดได้ บริษัท เลอโนโว ประเทศจีน เกาะกระแสแท็บเล็ตพีซี หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ออกผลิตภัณฑ์แท็บเล็ตพีซีในตระกูลเครื่อง "ไอเดียแพด ยู 1 ไฮบริด" ติดตั้งจอทัชสกรีนขนาด 11.6 นิ้ว ซึ่งดึงออกมาจากตัวเครื่องเพื่อใช้งานโดยอิสระได้เลย ส่วนหน่วยประมวลผลใช้ของอินเทล คอร์ทูดูโอและระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7
11.เครื่องวัดพลังงาน เครื่องวัดระดับการสิ้นเปลืองและใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้าน รุ่น "ไวร์เลส แอพพลายแอนซ์ แมเนเจอร์" คิดค้นโดย บริษัทโอเรกอน ไซน์ทิฟิก สหรัฐอเมริกา และบอกได้ด้วยว่าจุดไหนกินไฟเท่าไหร่จากสูงสุดถึงล่างสุด
12.คอมพ์มือถือ "แดช โมบายล์" คอมพิวเตอร์มือถือของ โซนี่ ใช้ต่อเข้าเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา ทั้งยังใช้เป็นเครื่องเล่นไฟล์มัลติมีเดียและอ่านหนังสือดิจิตอลได้ด้วย
13.วิดีโอ 3 มิติ ในเมื่อกระแสทีวี 3 มิติมาแรงในปีนี้ บริษัทพานาโซนิก จึงผลิต "กล้องถ่ายวิดีโอระบบ 3 มิติ" ขึ้นมาตอบสนองความต้องการของลูกค้าผู้คลั่งใคล้การชมภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ
14.กล้องไว-ไฟ กล้องถ่ายรูปดิจิตอล DSC-G3 ของ บริษัทโซนี่ มีเลนส์ซูม 4 เท่า จอแอลซีดีสั่งงานด้วยการสัมผัส และระบบจับภาพใบหน้าคมชัดอัตโนมัติ แต่ความพิเศษอยู่ตรงที่มาพร้อมกับระบบเชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือ "ไว-ไฟ" ในตัว ช่วยให้การอัพโหลดภาพขึ้นเว็บไซต์ทำได้รวดเร็ว ราคาราว 17,500 บาท
Multipoint
Microsoft MultiPoint คืออะไร
วันที่ 14 พฤษภาคม 2552 11:30
เพราะพ่อสนใจเลยต้องศึกษา ห้า อ่านแล้วติดใจเลยเอามาบอกต่อ
Microsoft MultiPoint คือนำซอฟต์แวร์ Microsoft MultiPoint ไปให้บริการฟรีในโรงเรียนต่างๆ โปรแกรมดังกล่าวจะทำให้คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องสามารถรองรับเมาส์ของนักเรียนได้ถึง 40 คน โดยแต่ละคนจะมีชื่อเรียกเมาส์ (เด็กชาย ก. เด็กหญิง ข.) มีภาพสัญลักษณ์ของเมาส์ที่นักเรียนใช้ปรากฏบนจอภาพหน้าห้องเรียน เมื่อครูให้นักเรียนตอบคำถาม นักเรียนแต่ละคนจะเข้าไปคลิกคำตอบที่ต้องการ จากนั้นระบบจะประมวลว่ามีนักเรียนตอบถูกกี่คน ตอบผิดกี่คน
ภาพและเนื้อหาประกอบ ตัวโปรแกรม นิดหน่อย
http://www.norsorpor.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/m1408733/Microsoft+MultiPoint+Mouse++%CA%D7%E8%CD%E0%C3%D5%C2%B9%C3%D9%BB%E1%BA%BA%E3%CB%C1%E8+%CA%B9%D8%A1-%E4%C1%E8%E0%BA%D7%E8%CD+%E2%B4%C2+%E0%BA%AD%A8%C7%C3%C3%B3+%CA%D8%B7%B8%D4+
ภาพประกอบเผื่อนึกไม่ออกว่ามันเป็นไง เพราะแรกงงเหมือนกัน เหอๆ
http://school.obec.go.th/Prasertislam/index1.html เป็นภาพของ โรงเรียนประเสิรฐอิสลาม
เห็นแล้วกระจ่างเลย
http://www.microsoft.com/thailand/press/nov07/partners-in-learning.aspx
รายละเอียดเพิ่มเติม เพราะเค้ามีหลายโปรแกรม :P
http://www.pil.in.th/
ต้องการรู้ลึกแบบละเอียดๆๆๆ
http://www.pil.in.th/v21/ContentDetail.aspx?ContentID=508 ตัวsoftware และวิธีการใช้
http://school.obec.go.th/Prasertislam/multipoint1.htm
รายละเอียดของโรงเรียที่จะนำไปใช้ (ตามความเข้าใจเรานะ)
อ้างอิง http://www.qoolive.com/show_blog/2030/us/hongyoke
CAI
ความหมาย Cai
cai คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนCAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTION
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1. สารสนเทศ (Information)
หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization)
การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3. การโต้ตอบ (Interaction)
คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback)
ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
e-book
e-book คือ
"หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่อ่านสามารถ อ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ สำหรับหนังสือ หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมาย รวมถึงเนื้อหา ที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการ นำเสนอ สอดคล้อง และคล้ายคลึงกับ การอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมี ลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่าน สามารถอ่าน พร้อม ๆ กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป
รูปแบบของ e-book
รูปแบบสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง เช่น ซีดีรอม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษรทั้งลักษณะภาพดิจิตอล ภาพแอนิเมชั่น วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่น ๆ
รูปแบบหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ไม่บังคับการพิมพ์และการเข้าเล่ม
รูปแบบของหนังสือที่สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ลงไปจัดเก็บลงในเครื่อง palm ทำให้สามารถที่จะพกพาหนังสือหรือเอกสารจำนวนมากไปอ่าน ณ ที่ใดก็ได้ เพียงแต่นำเครื่อง palm ติดตัวไปเพียงเครื่องเดียว
รูปแบบไฟล์ของ e-book
HTML (Hyperte Markup Language) สามารถคัดลอกมาแก้ใขดัดแปลงได้
XML (Extensive Markup Language)?
PDF (Portable Document Format)ไม่สามารถคัดลอกข้อมูลได้ เพราะสร้างแบบการคัดลอกจากหนังสือจริง(แสกนมา) ต้องใช้โปรแกรมช่วยดาวโลด์ในการอ่าน (adobe)
PML (Peanut Markup Language)?
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
หนึ่งสมอง สองมือ ต้องไขว่คว้า
เมื่อมีปัญหา ขึ้นมา ต้องแก้ไข
เหนื่อยและท้อ ขอพักหน่อย ไม่เป็นไร
ให้มีแรง ลุกขึ้นใหม่ ได้อีกครา
คนเราก็เป็น แบบนี้ กันทั้งนั้น
มีสุขสันต์ โศกเศร้า เท่ากันแหละหนา
ความสำเร็จ แต่ละครั้ง กว่าจะได้มา
ต้องแลกด้วย เหงื่อและน้ำตา แทบทุกคน
ขอเป็นอีก หนึ่งแรงใจ ให้คนสู้
ให้เธอรู้ ว่าเธอ ยังมีหวัง
ขอส่งแรงใจ ให้เธอ มีแรงพลัง
ไปยังฝั่งฝัน ที่เธอวาดหวัง และตั้งใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)